เป้าหมาย

“การเร่งสร้างและขับเคลื่อนระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตร เพื่อสร้างผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในการพลิกโฉมการเกษตรของไทย ด้วยนวัตกรรมและรูปแบบธุรกิจเกษตรแนวใหม่”

สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่เหมาะสม คือการสร้างความเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งสตาร์ทอัพด้านการเกษตร ภาคการศึกษา องค์กรเอกชน องค์กรรัฐและรัฐวิสาหกิจ ที่มีความมุ่งมั่นการพัฒนาด้านการเกษตรสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรรม ให้เกิดการไต่ระดับพัฒนาการทางนวัตกรรม (Innovation Ladder) โดยมีการตั้งเป้าหมายในการพลิกโฉมด้านการเกษตรของประเทศไทย (Agriculture Transformations) ด้วยนวัตกรรม 5 ด้าน ได้แก่

1) ด้านเทคโนโลยี คือการเปลี่ยนจากเกษตรที่ใช้แรงงงาน พึ่งพาฤดูกาล ไม่สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้ เป็นการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาควบคุม ตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงระบบเกษตรให้แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น (From Perspiring to Automated Agriculture)

2) ด้านเศรษฐกิจ คือการเปลี่ยนจากการเกษตรที่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลางในการผลิต และการขาย เป็นการสร้างเกษตรที่เกิดรายได้ในตัวเอง (FromMiddle-man Economy to Monetization of Agriculture)

3) ด้านการตลาด คือการเปลี่ยนจากตลาดการเกษตรเป็นแบบเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มทุนขนาดใหญ่ มาสู่ตลาดที่กระจายแบบเท่าเทียมกัน ที่จะไม่ศูนย์กลาง ในลักษณะที่เหมือนกับ เทคโนโลยีการนำ Blockchain มาใช้ใน FinTech ในตอนนี้ (From Supply-dominated to Democratized Market)

4) ด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยมีทรัพยากรที่หลากหลายและจำนวนมาก ทำให้เกิดการใช้อย่างฟุ่มเฟือยและไม่คุ้มค่า การสร้างรูปแบบธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ ที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างค้มค่า เช่น การเพาะปลูกในระบบปิด ที่มีการประหยัดน้ำมากกว่า ร้อยละ 95 ตามหลักการของ BCG model (Bio – Circular – Green Economy) ที่ใช้ทรัพยากรและทิ้งของเสียน้อยที่สุด (From Waste to Lean Agriculture)

5) ด้านการวางตำแหน่ง ประเทศไทยมีความพร้อมและการเกษตรที่หลากหลาย ถ้าเราสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ได้ เราจะเป็นผู้นำทางการเกษตร เหมือนอย่างตัวอย่างประเทศต่างๆ เช่น เนอร์เธอร์แลนด์ อิสราเอล (Agtech Leadership)

“การเร่งสร้างและขับเคลื่อนระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตร เพื่อสร้างผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในการพลิกโฉมการเกษตรของไทย ด้วยนวัตกรรมและรูปแบบธุรกิจเกษตรแนวใหม่”